การเดินจงกรม
การเดินจงกรมก็ สามารถฝึกสมาธิได้อีกแบบหนึ่ง และยังสร้างสติสัมปชัญญะได้ดีมาก การเดินจงกลมมีหลายระยะ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนกระทั่ง ขั้นละเอียดมาก
ในหนังสือธรรมนิมิตนี้ ผมจะถ่ายทอด การเดินแบบพื้นฐาน แต่เพิ่มเติม การกำหนด รู้ เพื่อสร้างสติสัมปชัญญะ และผูกจิตให้เป็นสมาธิ เป็นเทคนิค ง่ายง่ายที่ผมใช้อยู่เป็นประจำ ครับ
เริ่มต้นให้ดูจากภาพนะครับ จะมีแค่ 3 จังหวะง่ายๆคือ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ทำแค่นี้สลับกันไปซ้ายขวานะครับ แต่ก่อนจะเดินอย่าลืมยืนหนอให้ได้ 5 ครั้งตามขั้นตอนที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้
คราวนี้เทคนิคสำคัญที่ผมอยากจะแนะนำให้ผู้ปฏิบัติทุกท่านได้ลองปฏิบัติตาม แล้วจะรู้ว่าจิตจะนิ่งดิ่งลึกเป็นสมาธิอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งเกิดสติสัมปชัญญะ ต่อเนื่องตลอดเวลา
เทคนิคสำคัญอยู่ตรงนี้ครับ จังหวะที่เท้าของเรา กำลังแตะพื้น ให้กำหนดรู้ไปด้วยว่า จุดไหนแต่ก่อน เช่น นิ้วโป้งลงก่อน จมูกเท้าลงตาม ส้นเท้าลงตาม และขณะที่สัมผัสนั้น รู้สึกอย่างไร
เย็นร้อนอ่อนแข็ง นุ่มเบา หรือมีหินหรือมีทราย หรือรู้สึกอย่างไร กำหนดรู้ให้เท่าทัน นะครับ พอวางเท้าลงไปแล้ว น้ำหนักไปอยู่ตรงไหน มากกว่ากัน พอน้ำหนักลงเต็มเท้าแล้ว
ก็ไปกำหนดต่อที่เท้าที่กำลังจะยกขึ้น ว่าเท้านั้นลอยขึ้นจุดไหนลอยขึ้นก่อน จากส้นเท้า จนมาถึงนิ้วเท้า นิ้วไหนหลุดจากพื้นสุดท้าย ลอยขึ้นไป แล้วก็วนมากำหนด จังหวะที่เท้า จะจรดลงพื้นอีกครั้ง ทำแบบนี้สลับกันไป
ไม่ต้องรีบเดินนะครับ เดินช้าๆ กำหนดแบบละเอียด สร้างความระลึกรู้ ใช้ระยะทาง ซัก 2 เมตรก็เพียงพอแล้วครับ เมื่อครบระยะ 2 เมตร ก็ให้กำหนดยืนหนอ 5 ครั้งเหมือนเดิม
และกำหนด อยากกลับหนอ และดูขั้นตอนการกลับตัวครับ เมื่อกลับตัวเสร็จแล้ว ก็ยืนหนอ 5 ครั้ง และเริ่มเดินต่อไปครับ ในระยะ 2 เมตร เดินไปกลับ ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจะดีมากครับ
หัวใจสำคัญ คือการทำให้ช้าที่สุด กำหนดรู้ การรับสัมผัสต่างๆที่เท้าสัมผัสลงไป ไม่ต้องรีบเดินครับ ท่านใดที่ทำได้ชำนาญแล้ว ต่อไปให้กำหนดรู้ที่ลมด้วยว่า
จังหวะที่ นิ้วเท้าเริ่มสัมผัสพื้น ลมหายใจเข้าหรือออก ส้นเท้าสัมผัสพื้น ลมหายใจอยู่ตรงไหน เวลาที่เท้าอีกข้างลอยขึ้น ลมหายใจเข้าหรือออก เป็นการกำหนด การรับรู้ ท่านละเอียดขึ้นไปอีกครับ
สิ่งที่ผมถ่ายทอดนี้เป็นเทคนิคที่ผมใช้อยู่ครับ สามารถเข้าสมาธิได้อย่างรวดเร็ว มีอารมณ์ นิ่งดิ่งลึกได้รวดเร็ว จิตไม่ฟุ้ง ไม่ส่งออกนอก ลองฝึกกันดูนะครับ