“ธรรมะจะมีคุณค่า…ก็ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติ” การฝึกปฏิบัติในที่นี้หมายถึง การมุ่งเน้นการขัดเกลาจิตใจ ให้เป็นสมาธิ เป็น ฌาน เมื่อจิตเป็น ฌานได้แล้ว จะสามารถละวางจากกิเลสได้ชั่วขณะ
หากฝึกฝนให้ชำนาญ ก็จะสามารถพิจรณาเข้าใจเหตุแห่งความทุกข์ และสมารถเข้าดับทุกข์ในจิตใจได้โดยง่ายด้วยกำลังของ ฌาน หมั่นฝึกฝนขัดเกลาจิตใจ ก็เชื่อได้ว่า จะเป็นคนที่ห่างไกลจากความทุกข์โดยง่าย
พระพุทธเจ้าได้อธิบายถึงกิเลสที่มัดใจสัตว์ทั้งหลาย ทำให้เกิดทุกข์ มีด้วยกัน 10 ข้อเรียกว่า “สังโยชน์ 10” แบ่งเป็น สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ข้อ และ เบื้องสูง 5 ข้อ
หากทำความเข้าใจแล้ว มุ่งปฏิบัติเพื่อละวาง แม้ยังไม่ต้องถึงระดับอริยบุคคล ก็เชื่อว่าจะทำให้ความทุกข์ในใจทุเลาเบาบางลงได้อย่างแน่นอนครับ ส่วนผู้ปฏิบัตที่ละได้เลยก็จะสมารถบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลตามลำดับขั้น ดังนี้ครับ
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อแรกได้
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 ให้เบาบางลงได้
พระอนาคามี ละสังโยชน์ เบื้องต่ำ 5 ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ
สังโยชน์ 10 เป็นตัวที่ทำให้สัตว์(ผู้ยึดติด)วนเวียนในวัฏฏะ มี 10 อย่างดังนี้ครับ
1)สักกายทิฏฐิ
มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรามีความยึดมั่นถือมั่น มีความยึด
ความอยาก ความกังวลในร่างการ ยังอยากเสริม สวย เสริมหล่อ ทาครีม
บำรุง ห่วงสรีระ อ้วน ผอม กังวลกับความแก่ชรา ร่วงโรยของกายสังขาร
2) วิจิกิจฉา
มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย สงสัยว่า คำสอนต่างๆมีจริงไหม อริยสัจ 4 ทำได้จริงหรือไม่ ภพชาติ การเกิดเวียนว่ายตายเกิดใน วัฏสงสาร มีจริงหรือไม่ ไม่เชื่อถือ ค้นหาการปฏิบัติใหม่ ลัทธิใหม่ วิธีใหม่ อาจารย์ใหม่ (หลายท่านไม่เชื่อ แต่ก็ไม่เริ่มต้นศึกษาเลย)
3) สีลัพพตปรามาส
ความถือมั่นศีลและพรต ถือศีลและพรตแต่ใจยังไม่สิ้นกิเลส รักษาศีล แค่ กาย วาจา แต่ใจยังไม่เป็นศีลจริงๆโดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
4)กามราคะ
มีความติดใจในกามคุณ ความใคร่ ความปรารถนา ความเพลินในการได้เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ ที่น่าพึงพอใจ สําหรับคนทั่วไปนั้น การมีเพศสัมพันธ์กับคู่ของตนเองก็ยังนับว่าเป็นพรหมจรรย์ตามฐานะแห่งตน แต่ก็ยังไม่ถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์ เนื่องจากยังบริโภคกาม
5) ปฏิฆะ
มีความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิด ขัดเคือง ความขุ่นมัว ขุ่นข้องใจ ความไม่ได้ตามใจปรารถนา ทั้งนี้ยังรวมไปถึงความไม่พึงใจที่ยังไม่บรรลุธรรมตามปรารถนาด้วย
6) รูปราคะ
รูปราคะ หมายถึง ความติดใจ ติดเพลิน ความติดใจอยาก หรือตัณหาในรูปธรรม อันประณีต คือ มีความติดใจในรูปฌาน ฌานที่ทำให้เกิดความสงบ ความสบาย ปีติ สุข อุเบกขา เอกัคคตา อันประณีตวิจิตร ถูกใจกว่ารูปในกามราคะปกติธรรมดา นักปฏิบัติจำนวนมากที่ยังติดในความเพลินของ ฌาน
7) อรูปราคะ
มีความติดใจใน อรูปฌาน พอใจในนามธรรมทั้งหลาย การติดใจติดเพลิน ติดใจอยากในรสประณีตอันละเอียดยิ่งขึ้นของสิ่งที่เป็น อรูป อันวิจิตร สัมผัสได้ด้วยใจหรือจิตเท่านั้น เช่นใน อรูปฌาน, เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ การติดเพลิน สิ่งสวยงามหรือทรัพย์สมบัติพึงพอใจระลึกในสัญญาจําในอดีตอันเป็น ติดเพลินความพึงพอใจในรสอันประณีตวิจิตรเหนือธรรมดาของฌาน ในระดับ อรูปฌาน
8) มานะ
มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ทนงตน คิดว่าตนเป็นแบบนั้น แบบนี้ถือตัวว่า ดีกว่าเขา เหนือกว่าเขา เสมอเขา ด้อยกว่าเขา ด้วยเหตุแห่งความ มานะ ถือตัว จึงย่อมก่อให้เกิดการปรุงแต่งกิเลสต่างเพราะความคิดว่า “ดีกว่าเขา” “ด้อยกว่าเขา” “แม้แต่เสมอเขา” ต่างล้วนเป็นความคิดปรุงแต่งที่ยังให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น
9) อุทธัจจะ
มีความฟุ้งซ่าน ความปรุงแต่งในเรื่องต่างๆ เกิด ความคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่าน เป็นความฟุ้งซ่านปรุงแต่งที่ละเอียดมาก
10) อวิชชา
มีความไม่รู้ ในที่นี้หมายถึง ความ ไม่รู้ใน “อวิชชา 8” ไม่รู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริงของสภาวธรรม การเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปของทุกข์ ไม่รู้ในอริยสัจ 4… ไม่รู้เหตุแห่งการเกิด… ไม่รู้เหตุแห่งอนาคต… ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต… ไม่รู้กระบวนการเกิดขึ้นแลดับไปของทุกข์…