เมื่อรู้แล้วว่าระดับจิตเราอยู่ที่ไหน ต้องขัดเกลาหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ ต้องฝึกฝนต่อเพื่อไปสู่การระงับยับยั้งกิเลสทั้งหลาย จะได้มีความทุกข์น้อยลง แนวทางที่ผมจะถ่ายทอดในหนังสือธรรมนิมิต มุ่งเน้นในการฝึกขัดเกลาจิตใจของเรา ให้รู้เท่าทันกิเลสต่างๆ
ฝึกการ“ ลดละ ”ความอยากได้…ความอยากมี…อยากเป็นทั้งหลาย… ถามตัวเองจริงๆครับว่า “ พร้อมหรือยังที่จะเปลี่ยนชีวิต ” จากชีวิตที่มีแต่ความทุกข์ เป็นความสุขสมปรารถนา
เริ่มต้นฝึกขัดเกลาจิตใจครับ แล้วจะสามารถหยุดทุกข์…กับอนาคตที่ยังไม่เกิด มีความสุขกับปัจจุบันแล้วจะเกิดสติ เกิดปัญญา สิ่งที่กำลังดิ้นรนแก้ปัญหามันจะมีทางออกอย่างน่าอัศจรรย์
จุดเริ่มต้นของทั้งหมดทั้งมวลในการเริ่มขัดเกลาจิตใจต้องมี “แรงขับเคลื่อน” ทุกท่านต้องทำความรู้จักกับคำว่า “ อิทธิบาท 4 ” แรงขับเคลื่อนสำคัญของความสำเร็จทั้งปวงอิทธิบาท 4 ตามแนวทางของพระตถาคตนั้น คือฉันทะ…วิริยะ…จิตตะ…วิมังสา… ต้องทำความเข้าใจทีละตัว เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนให้ตนเองฝึกฝนขัดเกลา ละวางจิตจากกิเลสละวางจากความทุกข์
ฉันทะ
เรียกว่าเป็นความพอใจ รู้สึก จากในจิตใจ ใฝ่ใจรักในสิ่งที่จะลงมือทำ หรือตั้งใจทำ ในสิ่งนั้น ในที่นี้หมายถึง มีความรู้สึกที่ต้องการจะเริ่มต้นขัดเกลาจิตใจตนเองให้รู้สึก ละวางจากกิเลสได้
หาทุกท่านมี “ ความต้องการที่จะเปลี่ยนชีวิตต้องเพียงพอ ” จะเป็นแรงขับเคลื่อนตัวเองให้เริ่มต้น กระทำในสิ่งที่ต้องการนี้ หากความต้องการที่จะเปลี่ยนชีวิตจากทุกข์ไม่เพียงพอแล้ว การเริ่มต้นก็คงไปได้ไม่ถึงไหน แล้วก็ล้มเลิกไปเสียก่อน
วิริยะ
เมื่อความต้องการเพียงพอแล้วก็ต้องเป็นการลงมือทำ “ การลงมือทำนี้ เป็นการลงมือทางอย่างเอาจริงเอาจังและมีระเบียบวินัย ” ตั้งใจทำต่อเนื่อง เป็นระยะเวลายาวนาน ด้วยความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จอย่างไม่ขาดตอน ฮึกเหิมเด็ดเดี่ยวที่จะเอาชนะอุปสรรคใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นระหว่างการกระทำนั้นๆในที่นี้ก็คือ “ การฝึกฝนขัดเกลาจิตใจตนเองอย่างไม่ย่อท้อ ” อย่างมีวินัย ไม่ว่ามีอุปสรรคใดๆขวางกั้น ก็จะไม่ละเว้นว่างจากการฝึกฝน
จิตตะ
ความเอาจิตใจฝักใฝ่จดจ่อ กับสิ่งที่กำลังกระทำ ให้คุณคิดถึงสิ่งที่กำลังอยากฝึกฝนนี้ว่าจะทำให้สำเร็จให้ได้ ไม่ว่าอยู่ในสภาวะใดก็ตาม จิตใจยังจดจ่อฝักใฝ่เช่น ตื่นเช้ามาเดินทางไปทำงานแต่จิตใจก็คิดว่าเดี๋ยวกลับบ้านคืนนี้เราจะฝึกฝนขัดเกลาจิตใจต่อให้สำเร็จลุล่วง ให้ก้าวหน้าเรียกว่า “ จิตใจเป็นสมาธิจดจ่อฝักใฝ่กับภารกิจเพื่อที่จะลุล่วง ”
วิมังสา
หมั่นค้นหาเหตุและผลด้วยปัญญาลำดับขั้นตอนของความสำเร็จ พิจารณาให้แยบคาย ว่าปัญหาอยู่ตรงไหน จะแก้ไขด้วยวิธีการใด เรียนรู้และพัฒนาหาเหตุแห่งปัญหา หาวิธีในการแก้ปัญหา อะไรคือเหตุและผลของความก้าวหน้าที่ฝึกฝนอยู่ เพื่อเป็นการพัฒนางาน พัฒนาการฝึกฝนให้มีความก้าวหน้าอยู่ตลอด
หากทุกท่านเข้าใจแล้ว…น้อมใจให้มีแรงขับเคลื่อนหลักอย่างนี้อยู่อย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม “ แรงขับเคลื่อน 4 ข้อนี้จะเป็นกุญแจสำคัญ ” ของความสำเร็จทุกประการ ผมเชื่อว่าความตั้งใจที่อยาก ละวางความทุกข์ละวางกิเลสต่างๆ จะสามารถทำสำเร็จได้โดยง่ายแน่นอนคร